จักรปักแต่ละรุ่น ต่างกันอย่างไร >>คลิก<< ลายปักได้มาจากไหน >>คลิก<< แนะนำ AutoSewing >>คลิก<< ไอเดียชิ้นงานจากจักรปักรุ่นต่าง ๆ >>คลิก<< ตัวอย่างผู้ประกอบการจักรปัก >>คลิก<< การรับประกัน การบริการหลังการขาย >>คลิก<< วัสดุ อุปกรณ์ในงานปัก >>คลิก<< ปรึกษา การลงทุน จักรปัก >>คลิก<< |
✽ การรับประกัน และบริการหลังการขาย ✽
✽ ✽ ✽ ✽ ✽ ✽
โปรดระวัง! สินค้าที่นำเข้าแบบผิดกฎหมาย หรือ *เครื่องหิ้ว*
มีลูกค้าหลายท่านประสบปัญหาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไปซื้อจักรบราเดอร์จากผู้ประกอบการที่ขาย*เครื่องหิ้ว*
(นำเข้าเองแบบไม่ถูกต้องตามนโยบายของบราเดอร์)
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากเครื่องหิ้ว ทำให้สูญเสียทั้งเวลา เงินทอง และโอกาสทางธุรกิจ ได้แก่...
1. การรับประกัน นโยบายของจักรบราเดอร์ ไม่ใช่ World Wide Warranty แต่เป็นการรับประกันแบบท้องถิ่น (Local Warranty) พูดง่ายๆ คือซื้อประเทศไหน ซ่อมประเทศนั้น ไม่มีข้ามโซนกัน เพราะฉะนั้น การซื้อเครื่องหิ้วแล้วมีปัญหาต้องซ่อม จะเข้าศูนย์ไม่ได้ หรือบางกรณีศูนย์อาจจะรับซ่อมให้โดยคิดค่าบริการเปิดเครื่องครั้งละ 5,000-10,000 บาท (เป็นนโยบายจากบริษัทแม่ เพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้า) การซื้อเครื่องหิ้วจึงมีความเสี่ยง ไม่คุ้มค่ากับราคาขายที่อาจจะถูกกว่าเล็กน้อย
ลองนึกดูว่าถ้าลูกค้ามีจักรเสียพร้อมกันหลายคนในช่วงงานกำลังเข้าเยอะ ผู้ขายทำงานคนเดียวไม่มีทีมช่าง ไม่มีสต็อคอะไหล่ที่เป็นของแท้ ทางศูนย์บราเดอร์ก็ไม่รับซ่อมและไม่มีสต็อคอะไหล่รุ่นนั้น คงจะต้องเสียงานและเสียใจที่ตัดสินใจผิดพลาด หมายเหตุ : จักรปักบราเดอร์ที่บริษัทแม่คัดเลือกให้จัดจำหน่ายสำหรับประเทศไทย มีรุ่นตามนี้เท่านั้น : NV-95e, NV-800e, V3, VR, PR-655, PR1050X และรุ่นเย็บได้ปักได้ในเครื่องเดียวกันอีก 3 รุ่นคือ NV-950, NV-980D, NV-980K (รุ่นอื่นนอกเหนือจากนี้ เป็นเครื่องหิ้วแบบผิดกฎทั้งสิ้น
2. โปรแกรมเถื่อน และลายปักที่ละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากโปรแกรมตีลายมีราคาแพง ผู้ประกอบการหลายรายใช้วิธีแถมโปรแกรมตีลายของต่างประเทศที่ผิดลิขสิทธิ์ให้ลูกค้าใช้ ในทางกฎหมายผู้ใช้มีความผิดเต็มๆ แม้ว่าจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เสี่ยงต่อการถูกจับต้องโทษทางแพ่ง หรือทางอาญา และเสื่อมเสียชื่อเสียงด้วย หมดโอกาสขยายกิจการสร้างแบรนด์ของตัวเองให้เติบใหญ่ได้ การแถมลายปักที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ก็เช่นกัน (โปรแกรม PES จะใช้ได้เฉพาะเครื่องที่ซื้อจาก Pinn Shop เท่านั้น!!)
3. ระบบไฟฟ้า เครื่องหิ้วจากบางประเทศ โรงงานออกแบบมาสำหรับกระแสไฟ 110V เมื่อนำมาใช้กับไฟเมืองไทยแล้วเกิดการช็อตเครื่องไหม้เสียหาย ไม่มีใครรับผิดชอบ หรือถึงแม้จะใช้หม้อแปลงไฟก็อาจจะไม่ได้กระแสไฟที่เหมาะสม เป็นเหตุให้เครื่องจักรทำงานไม่ปกติได้ |
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม !!
โทร. 082-6144061-65
หรือ
|
จักรปักแต่ละรุ่น ต่างกันอย่างไร >>คลิก<< ลายปักได้มาจากไหน >>คลิก<< แนะนำ AutoSewing >>คลิก<< ไอเดียชิ้นงานจากจักรปักรุ่นต่าง ๆ >>คลิก<< ตัวอย่างผู้ประกอบการจักรปัก >>คลิก<< การรับประกัน การบริการหลังการขาย >>คลิก<< วัสดุ อุปกรณ์ในงานปัก >>คลิก<< ปรึกษา การลงทุน จักรปัก >>คลิก<< |